วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565

สารบัญ กฎหมายและการสอบสวน

การดำเนินการเกี่ยวกับผู้ป่วยทางจิต(ไม่มีคดี)
เหตุรำคาญ 
ความรู้เรื่องสถานบริการ(โดยย่อ)
การยื่นคำขอตาม พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. 2558
การนับวันมีผลบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา
แนวทางประสานงานการสอบสวนคดีพิเศษ
ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 
วิธีการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ต
คำร้องทุกข์หรือแจ้งเป็นหลักฐาน
สถิติคดีอาญา 4 กลุ่ม 
บันทึกความร่วมมือตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ
หนังสือมอบอำนาจ
ตราสารไม่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์
ปัญหาการแยกงานสอบสวนออกจากตำรวจ
การทวงถามหนี้
กฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน
ความผิดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(โดยย่อ)
ป้องกันโดยพลาดหรือประมาท
วิทยุคมนาคม วิทยุกระจายเสียง
ฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
อสส. แจ้งแนวทางปฎิบัติตามประกาศ คสช. ฉ.115/2557 (ทำความเห็นแย้ง)
การแก้ไข ป.วิ.อ. ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 115/2557 
การปฎิบัติตามประกาศ คำสั่ง คสช. เกี่ยวกับอาวุธปืนฯ 
อายุความในความผิดอาญา
บรรยายฟ้องการกระทำโดยพลาด
คดีลิขสิทธิ์กรณีเปิดเพลงให้ลูกค้าร้องและฟัง
คดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ความผิดมูลฐานการฟอกเงิน
ตำแหน่งพนักงานสอบสวน
ส่งสำนวนก่อนครบฝากสุดท้าย 
บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนแก่จำเลย

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การดำเนินการกับผู้ป่วยคดี


* อ้างอิง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14  และ พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 มาตรา 35  มาตรา 36 
          
               ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีอาการป่วยทางจิตและได้กระทำการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดอาญา ถือว่าเป็น "ผู้ป่วยคดี" การดำเนินคดีอาญาจะแตกต่างไปจากผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีอาการป่วยทางจิตแต่ยังไม่ได้กระทำความผิดอาญา 
               ผู้ป่วยคดี จึงเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกพนักงานสอบสวนได้สอบสวน หรือศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา แล้วเห็นว่ามีอาการป่วยทางจิตหรือเป็นผู้วิกลจริต จึงสั่งให้เข้ารับการตรวจหรือบำบัดรักษาโดยจิตแพทย์ ทั้งก่อนหรือหลังที่มีคำพิพากษาในคดีอาญาด้วย
                พนักงานสอบสวนหรือศาล สามารถใช้ดุลยพินิจในการสั่งให้พนักงานแพทย์ตรวจผู้ป่วยคดีได้ แล้วเรียกพนักงานแพทย์มาให้ถ้อยคำว่า ตรวจได้ผลประการใด ถ้าเห็นว่าไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ก็ให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ไว้จนกว่าผู้นั้นหายจากวิกลจริตหรือต่อสู้คดีอาญาได้ โดยศาลจะสั่งจำหน่ายคดีไปเสียชั่วคราวก็ได้ และให้ส่งตัวผู้ป่วยคดีไปยังโรงพยาบาลโรคจิตหรือสถานบำบัดรักษา 
                สถานบำบัดรักษาหรือโรงพยาบาลโรคจิตมีอำนาจรับตัวผู้ป่วยคดีไว้ควบคุมและบำบัดรักษาได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้ป่วยคดี จิตแพทย์จะตรวจวินิจฉัยและทำความเห็นว่าสามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ แล้วรายงานผลให้พนักงานสอบสวนหรือศาลทราบเบื้องต้นภายใน 45 วัน หรืออาจจะขยายเวลาได้อีกไม่เกิน 45 วัน ในระหว่างนี้ พนักงานสอบสวนหรือศาลสามารถกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันการหลบหนีหรือการก่ออันตรายของผู้ป่วยคดีได้ จนกว่าจะหายหรือทุเลาและสามารถต่อสู้คดีได้ 
                 ในกรณีที่จิตแพทย์เห็นว่า ผู้ป่วยคดียังไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้รายงานผลการบำบัดรักษาทุก 180 วัน เว้นแต่พนักงานสอบสวนหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ถ้าหายหรือทุเลาและสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว ก็ให้รายงานผลการบำบัดรักษาต่อพนักงานสอบสวนหรือศาลทราบโดยไม่ชักช้า.

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2564

การดำเนินการกับผู้ป่วยทางจิต (ไม่มีคดี)

              ในกรณีที่มีผู้ป่วยทางจิตหรือผู้วิกลจริต เป็นผู้มีภาวะอันตราย หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา แต่ยังไม่ปรากฎว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดอาญา หากแต่บุคคลทั่วไปเห็นว่าผู้นั้นมีพฤติกรรมรุนแรงสามารถก่อเหตุอันตรายร้ายแรงต่อบุคคลและทรัพย์สินได้ทันที ก็ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ โดยมิชักช้า 
              เมื่อเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รับแจ้งจากผู้พบเห็น หรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวพบเห็นผู้ที่มีพฤติการณ์นั้นด้วยตนเอง ก็ให้รีบนำตัวผู้นั้นไปยังสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาที่อยู่ใกล้โดยมิชักช้า เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น โดยจะมีผู้รับดูแลไปด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่จะผูกมัดร่างกายไม่ได้ เว้นแต่จำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อผู้นั้นเอง ผู้อื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น 
              ถ้าหากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวพบเห็นตั้งแต่แรกว่า ผู้ป่วยทางจิตมีภาวะอันตรายและเป็นอันตรายใกล้จะถึง ก็ให้มีอำนาจใช้วิธีการที่เหมาะสมและจำเป็นแก่พฤติการณ์ในการนำส่ง เพื่อป้องกันการขัดขวางหรือจะหลบหนี ระหว่างนำตัวผู้นั้นไปให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้น ยังสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาซึ่งอยู่ใกล้โดยไม่ชักช้า 

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บล็อกทั้งหมด

วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

เหตุรำคาญ

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕

              มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
              “เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า
                (๑) นายกเทศมนตรีสําหรับในเขตเทศบาล
                (๒) ประธานกรรมการสุขาภิบาลสําหรับในเขตสุขาภิบาล
                (๓) ผู้ว่าราชการจังหวัดสําหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                (๔) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสําหรับในเขตกรุงเทพมหานคร
                (๕) ปลัดเมืองพัทยาสำหรับในเขตเมืองพัทยา
                (๖) หัวหน้าผู้บริหารส่วนท้องถิ่นขององค์การปกครองท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกําหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นสำหรับในเขตราชการส่วนท้องถิ่น

              มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรําคาญ
                (๑) แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า หรือสถานที่อื่นใด ซึ่งอยู่ในทําเลไม่เหมาะสม สกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของ มีการเททิ้งสิ่งใด เป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นหรือละอองเป็นพิษ หรือเป็นหรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหะนําโรค หรือก่อให้เกิดความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
                (๒) การเลี้ยงสัตว์ ในที่ หรือโดยวิธีใด หรือมีจํานวนเกินสมควร จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
                (๓) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือสัตว์ โรงงานหรือสถานที่ประกอบการใดไม่มีการระบายอากาศ การระบายน้ำ การกําจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษ หรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็น หรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเพียง จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
                (๔) การกระทําใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
                (๕) เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

              มาตรา ๒๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใด มิให้ก่อเหตุรําคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชน รวมทั้งการระงับเหตุรําคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บํารุงรักษาบรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ํา คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรําคาญ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กําจัดและควบคุมเหตุรําคาญต่าง ๆ ได้

              มาตรา ๒๗ ในกรณีที่มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญ ภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคําสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทําโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญนั้น หรือสมควรกําหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคําสั่งได้
              ในกรณีที่ปรากฎแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และเหตุรําคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรําคาญนั้นและอาจจัดการตามความจําเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรําคาญนั้นขึ้นอีกโดยบุคคล ซึ่งเป็นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสําหรับการจัดการนั้น

              มาตรา ๒๘ ในกรณีที่มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจออกคําสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรําคาญ ภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคําสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทําโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญนั้น หรือสมควรกําหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคําสั่งได้
              ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรําคาญนั้นและอาจจัดการตามความจําเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรําคาญนั้นขึ้นอีก และถ้าเหตุรําคาญเกิดขึ้นจากการกระทํา การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสําหรับการจัดการนั้น
              ในกรณีที่ปรากฎเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรําคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดํารงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคําสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรําคาญนั้นแล้วก็ได้

              มาตรา ๔๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุขและผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๔ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเพื่อประโยชน์ในการจับกุมหรือปราบปรามผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักท้องถิ่น และผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

              มาตรา ๗๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๗ วรรคสอง หรือมาตรา ๒๘ วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

              มาตรา ๘๕ ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดี
               (๑) ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสํานักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมตํารวจ
               (๒) ในเขตจังหวัดอื่น ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด อัยการจังหวัด และผู้กํากับการตํารวจภูธรจังหวัด
               บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจําคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีมีอํานาจเปรียบเทียบ
               สําหรับความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ด้วย
               เมื่อได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
               ถ้าผู้ต้องหาไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือยินยอมแล้วไม่ชําระเงินค่าปรับภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ดําเนินคดีต่อไป